วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 8 ปัญหาและการแก้ไขของ Hardware


ลำโพงคอมพิวเตอร์
1.ปัญหา คือ ลำโพงคอมพิวเตอร์ดังข้างเดียว
การแก้ไขปัญหา คิอ ลองขยับสายลำโพงที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ดูว่า สายเสียบเรียบร้ยหรือเปล่า แล้วขยับดู
2.ปัญหา คือ ลำโพงคอมพิวเตอร์ไม่มีเสียงกับไฟไม่เข้า
การแก้ไขปัญหา คือ ลองเช็กปลั๊กไฟดูก่อนว่ามีไฟหรือเปล่า เพราะสายไฟอาจจะขาดในได้
3.ปัญหา คือ ลำโพงต่อกับคอมพิวเตอร์ไม่มีเสียง
การแก้ไขปัญหา คือ ลองหยับดูว่าจุ๊บหลวมหรือว่าอาจจะเสียบผิดรูก็ได้
4.ปัญหา คือ สวิตซ์ Volume เสียเร่งเสียงไม่ได้
การแก้ไขปัญหา คือ เปลี่ยนสวิตซ์ไหม่ หรือเพิ่มเสียงในคอมพิวเตอร์ก็ได้ โดยกดตรง Volume แล้วเพิ่มเสียงตามความต้องการ
5.ปัญหา คือ แจ๊กลำโพงเสีย
การแก้ไขปัญหา คือ เปลี่ยนจ๊กไหม่ หรือเชื่อมสายทองแดงแจ๊กไหม่

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่7 สอบการทำบล็อก


พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติราชบุรี, ราชบุรี

ตั้งอยู่ริมถนนวรเดช มีลักษณะการจัดการแสดงทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์วิทยาธรณีวิทยา ศิลปะพื้นบ้าน รวมทั้งการาจัดแสดงตัวอย่างวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของลาวโซ่ง กระเหรี่ยง และไทยวน ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติอย่างพร้อมมูล พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ทุกวัน เว้น วันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชม ชาวไทย คนละ 5 บาท ชาวต่างชาติ คนละ 10 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (032) 321513

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 6 ซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมใช้งาน

1. รายชื่ออุปกรณ์ใน CASE

2. การแก้ปัญหาในการซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 5 asciicode และ Monitor

Koson Deesawat
1101001011110110110011101111011001110110 0010001010100110101001101100111010000110111011101000011000101110

โกศล ดีสวาดิ์
01000111100001010001001110100011 001011011010101101010011111000110100101101010011001011010010101100110111

จอภาพ ( Monitor )

จอภาพคอมพิวเตอร์ หรือ Monitor เป็นฮาร์ดแวร์ที่เป็นหน่วยแสดงผล (Output Unit) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบนจอประเภทของจอภาพจอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube)

เป็นจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอโทรทัศน์ ทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าแรงสูง (high voltage) คอยกระตุ้นให้อิเล็กตรอนภายในหลอดภาพแตกตัวอิเล็กตรอนดังกล่าวจะทำให้เกิดลำแสงอิเล็กตรอนไปกระตุ้นผลึกฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนหลอดภาพ เมื่อฟอสฟอรัสถูกกระตุ้นจากอิเล็กตรอนจะเกิดการเรืองแสงและปรากฏเป็นจุดสีต่างๆ (RGB Color) ซึ่งรวมเป็นภาพบนจอภาพนั่นเอง

จอภาพแบบแบน LCD (Liquid Crystal Display) จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ มีสองประเภท ได้แก่
Active matrixจอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูงด้วย
Passive matrixจอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า DSTN (Double Super Twisted Nematic)

จอ LCD เป็นเทคโนโลยีที่เริ่มพัฒนาประมาณสิบกว่าปีนี้เอง เริ่มจากการพัฒนามาใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอแสดงผลตัวเลขขนาดเล็ก ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ LCD จึงใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ มีการสร้างทรานซิสเตอร์เป็นล้านตัวเพื่อควบคุมจุดสีบนแผ่นฟิล์มบาง ๆ ให้จุดสีเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การแสดงผลจึงเป็นการแสดงจุดสีเล็ก ๆ ที่ผสมกันเป็นสีต่าง ๆ ได้มากมาย การวางตัวของจุดสีดำเล็ก ๆ เรียกว่าแมทริกซ์ (matrix) จอภาพ LCD จึงเป็นจอแสดงผลแบบตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่มีจุดสีจำนวนมาก

จอภาพระบบสัมผัส (Touch-Screen)เป็นจอภาพที่มีประสาทสัมผัส เป็นอุปกรณ์ที่นำข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยการสัมผัส เป็นจอภาพแบบพิเศษ สามารถรับรู้ทันทีเมื่อมีการสัมผัสกับจอภาพ ใช้งานได้ง่ายสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์เลย ผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วลง บนจอภาพในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อเลือกการทำงาน ซอฟต์แวร์ที่ใช้จะเป็นตัวค้นหาว่าผู้ใช้เลือกทางเลือกใด และทำให้ตามนั้น หลักการนี้นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องนักสามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จะพบการใช้งานมากในร้านอาหารแบบเร่งด่วน หรือใช้แสดงข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น

บนจอภาพในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อเลือกการทำงาน ซอฟต์แวร์ที่ใช้จะเป็นตัวค้นหาว่าผู้ใช้เลือกทางเลือกใด และทำให้ตามนั้น หลักการนี้นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องนักสามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จะพบการใช้งานมากในร้านอาหารแบบเร่งด่วน หรือใช้แสดงข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น

สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับจอภาพ
Dot Pitchคือความห่างระหว่างจุดของฟอสฟอรัสซึ่งฉาบอยู่บนหลอดภาพ ถ้าจุดแต่ละจุดห่างกันน้อยจะทำให้ภาพละเอียดมาก ขนาดระหว่างจุดของฟอสฟอรัสมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร และมีหลายขนาด เช่น 0.25, 0.26, 0.28 เป็นต้น ตัวเลขดังกล่าวนี้ยิ่งน้อยยิ่งดี เพราะแสดงว่าความห่างระหว่างผลึกฟอสฟอรัสยิ่งน้อยจะยิ่งแสดงภาพได้ละเอียดมากขึ้น
Interlaced & Non-interlaced
Interlacedคือการแสดงภาพแบบสลับเส้น ตัวอย่างเช่นในโทรทัศน์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะใช้การแสดงภาพแบบ 625 เส้น และสลับกันสแกน ภาพจากหน้าจอที่เห็นจะเกิดจากการสแกนให้เกิดภาพ 2 รอบ โดยที่รอบแรกจะสแกนเส้นคู่ คือ 2,4, 6... จนครบ 624 รอบที่สองจะสแกน เส้นคี่คือ 1,3,5... .จนครบ 625 จอภาพคอมพิวเตอร์ในระยะแรกจะเป็นแบบ interlaced
Non-interlacedคือการสแกนภาพแบบต่อเนื่อง เรียงจากเส้นที่ 1 จนจบจอภาพ ในปัจจุบันจอภาพคอมพิวเตอร์จะเป็นแบบnon-interlaced ซึ่งทำให้การต่อของจุดจะต่อเนื่องและลดการสั่นไหวของภาพทำให้ดูสบายตากว่า

Low-radiation คือจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำ ตามมาตรฐาน MPR-II ของ SSI (Swedish National Institute of Radiation Protection) ซึ่งจะช่วยถนอมสายตาจากการทำงานบนคอมพิวเตอร์นาน ๆ การทดสอบว่าจอภาพมีการกระจายรังสีต่ำหรือไม่นั้นทดสอบได้โดยเปิดสวิตช์จอภาพแล้วลองเอามือหรือช่วงแขนไว้ใกล้จอภาพให้มากที่สุด ถ้ารู้สึกถึงไฟฟ้าสถิตย์ แสดงว่าเป็นจอภาพแบบธรรมดาไม่ใช่แบบ low-radiation

Resolution คือความละเอียดของการแสดงภาพหรือการสแกนภาพออกมาได้ความละเอียดมากเท่าไร ความสามารถในการแสดงภาพได้ละเอียดมากขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของจอภาพ จอ VGA จะแสดงภาพได้ละเอียดน้อยกว่าจอ SVGA ยิ่งกำหนดความละเอียดในการแสดงสีมากเท่าไร ภาพจะละเอียดมากขึ้น แต่ตัวอักษรบนจอภาพจะเล็กลง โดยจะบอกเป็นค่าสองค่า อย่างเช่น 1024 x 768 ซึ่งเมื่อคำนวณออกมาแล้วก็ คือจำนวนจุดที่จอภาพสามารถผลิตออกมาได้ ในกรณีนี้ เลขตัวแรกคือ Vertical คือจำนวนเส้นในแนวตั้งเท่ากับ 1024 เส้น เลขตัวต่อมาคือ Horizontal คือจำนวนเส้นในแนวนอนเท่ากับ 768 เส้น เมื่อเอาตัวเลข 2 ตัว มาคูณกัน ผลลัพธ์คือจำนวนจุดบนจอภาพซึ่งคือ ความละเอียด (resolution)

ความละเอียดของสีที่สามารถแสดงบนจอภาพจำนวนสีที่แสดงได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใดจะมีการแสดงดังนี้
VGA คือ 256 สี
SVGA คือ 16.7 ล้านสี
XGA คือ 16.7 ล้านสี
UXGA คือ 16.7 ล้าน

เคล็ดลับการใช้จอภาพคอมพิวเตอร์เพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้า
1.ไม่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้นานๆ เพราะทำให้สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า
2.ถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งาน
3.ปิดจอภาพเมื่อไม่ใช้งานนานกว่า 15 นาที
4.ตั้งคอมพิวเตอร์ในบริเวณที่มีการระบายความร้อนได้ดี
5.ควรตั้งระบบ Screen Saver เพื่อรักษาคุณภาพของหน้าจอตรวจสอบดูว่าระบบประหยัดพลังงานไฟฟ้าในเครื่องถูกสั่งให้ทำงานแล้วหรือไม่
6.เลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบประหยัดพลังงาน โดยสังเกตจากสัญลักษณ์ Energy Star เพราะระบบนี้จะใช้กำลังไฟลดลงร้อยละ 55 ในขณะที่รอทำงาน
7.ควรซื้อจอภาพที่ขนาดไม่ใหญ่เกินไป เช่น จอภาพขนาด 14 นิ้ว จะใช้พลังงานน้อยกว่าจอภาพขนาด 17 นิ้ว ถึงร้อยละ 25
8.คอมพิวเตอร์ชนิดกระเป๋าหิ้วประหยัดพื้นที่ และประหยัดไฟฟ้าได้มากกว่าแบบตั้งโต๊ะ

ตัวเลขน่าคิดเพื่อการประหยัดพลังงาน
ถ้าเปิดชุดคอมพิวเตอร์จอภาพ 15 นิ้ว ทิ้งไว้วันละ 3 ชั่วโมง จะใช้ไฟ 8.4 หน่วยต่อเดือน ค่าไฟเดือนละประมาณ 21 บาท ถ้าเปิดทิ้งไว้เช่นนี้ 1 ล้านเครื่อง จะสิ้นเปลืองค่าไฟเดือนละ 21 ล้านบาท หรือ 252 ล้านบาทต่อปี คอมพิวเตอร์ขนาดจอ 17 นิ้ว 120 วัตต์ ใช้งาน 20 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์จะใช้ไฟ 9.6 หน่วยต่อเดือน ค่าไฟประมาณเดือนละ 24 บาท