วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 5 asciicode และ Monitor

Koson Deesawat
1101001011110110110011101111011001110110 0010001010100110101001101100111010000110111011101000011000101110

โกศล ดีสวาดิ์
01000111100001010001001110100011 001011011010101101010011111000110100101101010011001011010010101100110111

จอภาพ ( Monitor )

จอภาพคอมพิวเตอร์ หรือ Monitor เป็นฮาร์ดแวร์ที่เป็นหน่วยแสดงผล (Output Unit) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบนจอประเภทของจอภาพจอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube)

เป็นจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอโทรทัศน์ ทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าแรงสูง (high voltage) คอยกระตุ้นให้อิเล็กตรอนภายในหลอดภาพแตกตัวอิเล็กตรอนดังกล่าวจะทำให้เกิดลำแสงอิเล็กตรอนไปกระตุ้นผลึกฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนหลอดภาพ เมื่อฟอสฟอรัสถูกกระตุ้นจากอิเล็กตรอนจะเกิดการเรืองแสงและปรากฏเป็นจุดสีต่างๆ (RGB Color) ซึ่งรวมเป็นภาพบนจอภาพนั่นเอง

จอภาพแบบแบน LCD (Liquid Crystal Display) จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ มีสองประเภท ได้แก่
Active matrixจอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูงด้วย
Passive matrixจอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า DSTN (Double Super Twisted Nematic)

จอ LCD เป็นเทคโนโลยีที่เริ่มพัฒนาประมาณสิบกว่าปีนี้เอง เริ่มจากการพัฒนามาใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอแสดงผลตัวเลขขนาดเล็ก ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ LCD จึงใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ มีการสร้างทรานซิสเตอร์เป็นล้านตัวเพื่อควบคุมจุดสีบนแผ่นฟิล์มบาง ๆ ให้จุดสีเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การแสดงผลจึงเป็นการแสดงจุดสีเล็ก ๆ ที่ผสมกันเป็นสีต่าง ๆ ได้มากมาย การวางตัวของจุดสีดำเล็ก ๆ เรียกว่าแมทริกซ์ (matrix) จอภาพ LCD จึงเป็นจอแสดงผลแบบตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่มีจุดสีจำนวนมาก

จอภาพระบบสัมผัส (Touch-Screen)เป็นจอภาพที่มีประสาทสัมผัส เป็นอุปกรณ์ที่นำข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยการสัมผัส เป็นจอภาพแบบพิเศษ สามารถรับรู้ทันทีเมื่อมีการสัมผัสกับจอภาพ ใช้งานได้ง่ายสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์เลย ผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วลง บนจอภาพในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อเลือกการทำงาน ซอฟต์แวร์ที่ใช้จะเป็นตัวค้นหาว่าผู้ใช้เลือกทางเลือกใด และทำให้ตามนั้น หลักการนี้นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องนักสามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จะพบการใช้งานมากในร้านอาหารแบบเร่งด่วน หรือใช้แสดงข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น

บนจอภาพในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อเลือกการทำงาน ซอฟต์แวร์ที่ใช้จะเป็นตัวค้นหาว่าผู้ใช้เลือกทางเลือกใด และทำให้ตามนั้น หลักการนี้นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องนักสามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จะพบการใช้งานมากในร้านอาหารแบบเร่งด่วน หรือใช้แสดงข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น

สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับจอภาพ
Dot Pitchคือความห่างระหว่างจุดของฟอสฟอรัสซึ่งฉาบอยู่บนหลอดภาพ ถ้าจุดแต่ละจุดห่างกันน้อยจะทำให้ภาพละเอียดมาก ขนาดระหว่างจุดของฟอสฟอรัสมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร และมีหลายขนาด เช่น 0.25, 0.26, 0.28 เป็นต้น ตัวเลขดังกล่าวนี้ยิ่งน้อยยิ่งดี เพราะแสดงว่าความห่างระหว่างผลึกฟอสฟอรัสยิ่งน้อยจะยิ่งแสดงภาพได้ละเอียดมากขึ้น
Interlaced & Non-interlaced
Interlacedคือการแสดงภาพแบบสลับเส้น ตัวอย่างเช่นในโทรทัศน์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะใช้การแสดงภาพแบบ 625 เส้น และสลับกันสแกน ภาพจากหน้าจอที่เห็นจะเกิดจากการสแกนให้เกิดภาพ 2 รอบ โดยที่รอบแรกจะสแกนเส้นคู่ คือ 2,4, 6... จนครบ 624 รอบที่สองจะสแกน เส้นคี่คือ 1,3,5... .จนครบ 625 จอภาพคอมพิวเตอร์ในระยะแรกจะเป็นแบบ interlaced
Non-interlacedคือการสแกนภาพแบบต่อเนื่อง เรียงจากเส้นที่ 1 จนจบจอภาพ ในปัจจุบันจอภาพคอมพิวเตอร์จะเป็นแบบnon-interlaced ซึ่งทำให้การต่อของจุดจะต่อเนื่องและลดการสั่นไหวของภาพทำให้ดูสบายตากว่า

Low-radiation คือจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำ ตามมาตรฐาน MPR-II ของ SSI (Swedish National Institute of Radiation Protection) ซึ่งจะช่วยถนอมสายตาจากการทำงานบนคอมพิวเตอร์นาน ๆ การทดสอบว่าจอภาพมีการกระจายรังสีต่ำหรือไม่นั้นทดสอบได้โดยเปิดสวิตช์จอภาพแล้วลองเอามือหรือช่วงแขนไว้ใกล้จอภาพให้มากที่สุด ถ้ารู้สึกถึงไฟฟ้าสถิตย์ แสดงว่าเป็นจอภาพแบบธรรมดาไม่ใช่แบบ low-radiation

Resolution คือความละเอียดของการแสดงภาพหรือการสแกนภาพออกมาได้ความละเอียดมากเท่าไร ความสามารถในการแสดงภาพได้ละเอียดมากขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของจอภาพ จอ VGA จะแสดงภาพได้ละเอียดน้อยกว่าจอ SVGA ยิ่งกำหนดความละเอียดในการแสดงสีมากเท่าไร ภาพจะละเอียดมากขึ้น แต่ตัวอักษรบนจอภาพจะเล็กลง โดยจะบอกเป็นค่าสองค่า อย่างเช่น 1024 x 768 ซึ่งเมื่อคำนวณออกมาแล้วก็ คือจำนวนจุดที่จอภาพสามารถผลิตออกมาได้ ในกรณีนี้ เลขตัวแรกคือ Vertical คือจำนวนเส้นในแนวตั้งเท่ากับ 1024 เส้น เลขตัวต่อมาคือ Horizontal คือจำนวนเส้นในแนวนอนเท่ากับ 768 เส้น เมื่อเอาตัวเลข 2 ตัว มาคูณกัน ผลลัพธ์คือจำนวนจุดบนจอภาพซึ่งคือ ความละเอียด (resolution)

ความละเอียดของสีที่สามารถแสดงบนจอภาพจำนวนสีที่แสดงได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใดจะมีการแสดงดังนี้
VGA คือ 256 สี
SVGA คือ 16.7 ล้านสี
XGA คือ 16.7 ล้านสี
UXGA คือ 16.7 ล้าน

เคล็ดลับการใช้จอภาพคอมพิวเตอร์เพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้า
1.ไม่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้นานๆ เพราะทำให้สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า
2.ถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งาน
3.ปิดจอภาพเมื่อไม่ใช้งานนานกว่า 15 นาที
4.ตั้งคอมพิวเตอร์ในบริเวณที่มีการระบายความร้อนได้ดี
5.ควรตั้งระบบ Screen Saver เพื่อรักษาคุณภาพของหน้าจอตรวจสอบดูว่าระบบประหยัดพลังงานไฟฟ้าในเครื่องถูกสั่งให้ทำงานแล้วหรือไม่
6.เลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบประหยัดพลังงาน โดยสังเกตจากสัญลักษณ์ Energy Star เพราะระบบนี้จะใช้กำลังไฟลดลงร้อยละ 55 ในขณะที่รอทำงาน
7.ควรซื้อจอภาพที่ขนาดไม่ใหญ่เกินไป เช่น จอภาพขนาด 14 นิ้ว จะใช้พลังงานน้อยกว่าจอภาพขนาด 17 นิ้ว ถึงร้อยละ 25
8.คอมพิวเตอร์ชนิดกระเป๋าหิ้วประหยัดพื้นที่ และประหยัดไฟฟ้าได้มากกว่าแบบตั้งโต๊ะ

ตัวเลขน่าคิดเพื่อการประหยัดพลังงาน
ถ้าเปิดชุดคอมพิวเตอร์จอภาพ 15 นิ้ว ทิ้งไว้วันละ 3 ชั่วโมง จะใช้ไฟ 8.4 หน่วยต่อเดือน ค่าไฟเดือนละประมาณ 21 บาท ถ้าเปิดทิ้งไว้เช่นนี้ 1 ล้านเครื่อง จะสิ้นเปลืองค่าไฟเดือนละ 21 ล้านบาท หรือ 252 ล้านบาทต่อปี คอมพิวเตอร์ขนาดจอ 17 นิ้ว 120 วัตต์ ใช้งาน 20 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์จะใช้ไฟ 9.6 หน่วยต่อเดือน ค่าไฟประมาณเดือนละ 24 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น